ประวัติ การทำ พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข

  • ความเป็นมาและเส้นทางของ การทำ พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข

  • ความเป็นมาและเส้นทางของ การทำ พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข(รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย)
    ๑. มกราคม ๒๕๔๗ ได้มีการประชุมยกร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.  .  .  .        
        โดยนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข (นพ.วินัย วิริยกิจจา) 
        ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (นายไพศาล บางชวด)  
        ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข (นายจำนงค์  อิ่มสมบูรณ์ และ นายเมธี จันทร์จารุภรณ์) 
    ผู้แทนเครือข่ายสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ (รศ.เฉลิมชัย  ชัยกิตติภรณ์ และ รศ.กุหลาบ รัตนสัจธรรม) 
    ๒.   สภาการพยาบาลได้เชิญ รองศาสตราจารย์ เฉลิมชัย  ชัยกิตติภรณ์ และ รองศาสตราจารย์ กุหลาบ รัตนสัจธรรม 
    ไปชี้แจง และทางสภาการพยาบาลเสนอให้ตัดคำว่า “รักษาพยาบาลเบื้องต้นออก” และทางเครือข่ายสถาบันได้ส่ง 
    (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข ให้สภาการพยาบาลตามหนังสือที่ ศธ ๐๕๑๗.๑๔/๑๔๑๗ 
    ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๗
    ๓. นำเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติวิชาชีพฯ ต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์วัลลภ  ไทยเหนือ)  หนังสือที่
    ศธ  ๐๕๑๗.๑๔ / ๑๔๗๗  ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๗
    ๔.เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๗  ได้มีการประชุมตกลงร่วมกัน ในการพิจารณาที่จะดำเนินการจัดทำ
    -  (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน ที่จัดทำโดย สมาคมหมออนามัย
    -  (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพสาธารณสุข พ.ศ.  . . ที่จัดทำโดยเครือข่ายสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ 
    และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
    -  (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.  .  .  .จัดทำโดยชมรมศิษย์เก่าวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร 
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดขอนแก่น
    ๕.เมื่อวันที่  ๒๘  มิถุนายน  ๒๕๔๗  ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล  
    สมาคมหมออนามัย  ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย  ชมรมศิษย์เก่าวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร- 
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น  ในการรวม (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพทั้ง ๓ (ร่าง) ให้เป็น (ร่าง) เดียวกัน 
    โดยใช้ชื่อว่า (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขพ.ศ.  .  .  .
    ๖. นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ ต่อนายกรัฐมนตรี(ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธ์)
         หนังสือที่ ศธ ๐๕๑๗.๑๔ / ๓๐๒๕  ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗ ณ  เวทีการประชุม “ทางเลือกใหม่ เมืองไทยสุขภาพดี  
         (Healthy Thailand)  ศูนย์ประชุมไบเทค
    ๗.ได้มีการนำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ แก่บุคลากรสาธารณสุขในระดับภาค ให้รับทราบและให้ข้อเสนอแนะในเวที
    การประชุม  “เส้นทางสู่…สภาวิชาชีพการสาธารณสุข และการปรับตัวสู่อนาคตการสาธารณ สุขไทย”
    • ครั้งที่ ๑   ภาคเหนือ  จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่   ๗  สิงหาคม ๒๕๔๗
    • ครั้งที่ ๒   ภาคกลาง  จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ ๑๔  สิงหาคม  ๒๕๔๗
    • ครั้งที่ ๓   ภาคใต้      จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ ๑๖  สิงหาคม  ๒๕๔๗
    • ครั้งที่ ๔   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่  ๑๑  กันยายน  ๒๕๔๗
    ๘.นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ ต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร) หนังสือที่ 
    ศธ ๐๕๑๗.๑๔ / ๓๖๔๓  ลงวันที่  ๗  ตุลาคม  ๒๕๔๗
    ๙.นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ ต่อนายกแพทยสภา หนังสือที่  ศธ ๐๕๑๗.๑๔ / ๔๓๔๘  ลงวันที่  ๒๙  พฤศจิกายน  ๒๕๔๗
    ๑๐.เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๗ แพทยสภา ได้เชิญคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รศ.กุหลาบ รัตนสัจธรรม    
          และ นางนภาพร ม่วงสกุล เป็นผู้แทน) และทางสมาคมหมออนามัย(โดยมีคุณนิรุจน์ อุทธา และคณะ เป็นผู้แทน) 
    ไปชี้แจงสาระสำคัญ รายละเอียดของ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ ซึ่งมีการ (ร่วม) ร่าง พ.ร.บ. ๓ ร่างเดิมเข้าด้วยกันแล้ว 
    และทางแพทยสภามีประเด็นให้เพิ่มเติมสาระสำคัญในมาตรา ๒๗ เพื่อมิให้กีดกันสาขาวิชาชีพเวชกรรมป้องกัน
    ๑๑.นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ  ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  (ศ.นพ.สุชัย  เจริญรัตนกุล) หนังสือที่ ศธ   
          ๐๕๑๗.๑๔ / ๑๒๙๗  ลงวันที่  ๒๐  เมษายน  ๒๕๔๘
    ๑๒.นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ  ต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นพ.วิชัย เทียนถาวร) เพื่อขอติดตามความก้าวหน้า 
    หนังสือที่  ศธ ๐๕๑๗.๑๔ - ๘๒๗๙  ลงวันที่  ๒๐  เมษายน  ๒๕๔๘
    ๑๓.นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ  ต่อประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร หนังสือที่ ศธ ๐๕๑๗.๑๔ /
          ๑๔๒๘  ลงวันที่  ๓  พฤษภาคม  ๒๕๔๘
    ๑๔.นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ ต่อหัวหน้าพรรคชาติไทย หนังสือที่ ศธ ๐๕๑๗.๑๔ / ๑๔๒๙  ลงวันที่ ๓  พฤษภาคม  ๒๕๔๘
    ๑๕.นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ ต่อหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หนังสือที่ ศธ ๐๕๑๗.๑๔ / ๑๔๓๐ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม  ๒๕๔๘
    ๑๖.นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ  ต่อนายกรัฐมนตรี หนังสือที่ ศธ ๐๕๑๗.๑๔ / ๑๔๓๑  ลงวันที่  ๓  พฤษภาคม  ๒๕๔๘
    ๑๗.สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งว่า ได้นำเรื่อง (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ กราบเรียนนายกรัฐมนตรีและส่งเรื่องให้
    กระทรวงสาธารณสุขรับไปพิจารณา (หนังสือที่ นร ๐๔๑๐ / ๕๙๕๖ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘)
    ๑๘.นำเสนอ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ ต่ออธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  หนังสือที่ ศธ ๐๕๑๗.๑๔/ ๑๗๖๒ ลงวันที่
          ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘
    ๑๙.รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งข้อมูลความก้าวหน้าการนำเสนอ (ร่าง)พ.ร.บ.วิชาชีพฯ 
          แจ้งว่าได้ส่ง (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ ให้แพทยสภา  ทันตแพทยสภา  สภาเภสัชกรรม และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
    พิจารณา  (หนังสือที่ สธ ๐๒๐๑.๐๔๒.๑ / ๒๔๖๕ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๘)
    ๒๐.เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญไปชี้แจงสาระสำคัญ
    ของ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ โดยมีผู้ร่วมชี้แจงจากสมาคมหมออนามัยคือ นายนิรุทธ์ อุทธา
    ๒๑.เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘ ประธานคณะกรรมการกฎหมายและกิจการรัฐสภา พรรคชาติไทย ได้เชิญไปชี้แจง
    สาระสำคัญของ(ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพฯ
    ๒๒.วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘ ประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญให้ไปเข้าร่วมประชุม 
    เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง เนื่องจากยังมีภาคประชาชน ผลักดันให้นำ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ... 
    เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
    ๒๓.แพทยสภาได้มีหนังสือที่ พส. ๐๑๔/๑๐๙ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุขเรื่องความเห็น
    เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.  .  . และร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.  .  .  . โดยแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา ได้แจ้งข้อพิจารณาใน ๔ ประเด็น โดยผลการพิจารณาของ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม และ ทันตแพทยสภา มีความเห็นใน ๔ ประเด็นดังนี้
            ๑. การสาธารณสุขชุมชน และการสาธารณสุข ไม่เป็นวิชาชีพ จึงไม่ต้องมีกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ
           ๒. ไม่มีความจำเป็นต้องมีพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข
           ๓. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.  .  .  . และร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.  .  .  . มี
                การก้าวล่วงเข้าไปในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การพยาบาล และการผดุงครรภ์ เภสัชกรรม ทันตกรรม เทคนิค   
                การแพทย์ กายภาพบำบัด และการประกอบโรคศิลปะ ตลอดจนกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
           ๔. การปฏิบัติงานของบุคลากรด้านสาธารณสุข เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
    มอบหมาย  มีระเบียบของราชการคือ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้บุคลากรดังกล่าวถือปฏิบัติอยู่แล้ว
    ๒๔.กระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๓๓๐/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะ
    ทำงานพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.  .และ(ร่าง)พระราชบัญญัติวิชาชีพ-
    การสาธารณสุข พ.ศ. .
    ๒๕.ที่ประชุมเครือข่ายสถาบันฯ ได้มอบหมายให้คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อชี้แจง
           ประเด็นความเห็นของ ๔ สภา ตามและเวียนให้ผู้แทนของสมาชิกเครือข่ายสถาบันฯ พิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติม 
    คำสั่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๑๕๖/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙  เรื่อง แต่งตั้ง
    คณะกรรมการในการจัดทำรายละเอียด (ร่าง) พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.  .  .  . 
    ยื่นเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข
    ๒๖.เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ คณะทำงานได้ประชุมจัดทำคำชี้แจงประเด็นข้อควรพิจารณาและความคิดเห็นต่อ (ร่าง)
           พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.  .  .  . ของแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม 
    ทันตแพทยสภา และสมาคมหมออนามัย
    ๒๗.เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙  กระทรวงสาธารณสุข โดยคุณเมธี จันทร์จารุภรณ์ ได้เชิญประชุมพิจารณาหารือ
    เกี่ยวกับ (ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข โดยมีผู้เข้าประชุมประกอบด้วย รศ.เฉลิมชัย   ชัยกิตติภรณ์  
    รศ.กุหลาบ รัตนสัจธรรม  นางนภาพร ม่วงสกุล  นายเมธี  จันทร์จารุภรณ์   นายไพศาล  บางชวด  นายสามัคคี เดชกล้า  นางอัญชลี  ไชยสื่อ 
          นายพรมมินทร์ กันทิยะ  นายนิรุทธ์  อุทธา ซึ่งผลของการประชุม ให้มีการร่วมร่างกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับเข้าด้วยกัน 
    โดยใช้ร่าง  พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข เป็นต้นร่าง และให้เพิ่มเติมคำว่าการรักษาพยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งมี
    การแก้ไขข้อความในแต่ละ มาตราให้เหมาะสม
    ๒๘.เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๙  รศ.กุหลาบ รัตนสัจธรรม และ รศ.เฉลิมชัย  ชัยกิตติภรณ์ ได้ไปประชุมชี้แจงความ
    ก้าวหน้าของ พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.... ต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จังหวัดขอนแก่น
    ๒๙.เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๙  รศ.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ และ รศ.กุหลาบ รัตนสัจธรรม ได้เข้าร่วมประชุมในการ
    ประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๔๙  ณ  ห้องประชุมมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี 
    จังหวัดนครราชสีมา
    ๓๐.เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙  ได้ส่งเอกสารชี้แจงประเด็นความเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ...........  
           ของ ๔ สภาต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข (หนังสือที่ ศธ ๐๕๑๗.๑๔/๒๙๔๓  ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๙)
    เมื่อวันที่ ๖  พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ได้ยื่นหนังสือเปิดผนึก เรื่อง การเสนอกฏหมายเพื่อสนับสนุนการสร้างสุขภาพ 
    (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ต่อ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสา-ธารณสุข (นพ.มงคล ณ สงขลา)
    ๓๑.  เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งหนังสือ ที่ สธ ๐๑๐๐๒.๒/๒๖๐๓ ลงวันที่  
            ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้รับทราบถึงความสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพการ
           สาธารณสุข พ.ศ.....และได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไปพิจารณาโดยเร่งด่วนแล้วเสนอความเห็นต่อ
           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงlสาธารณสุข เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
    ๓๒. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ กระทรวงสาธารณสุข โดยปลัดกระทรวง ได้มีคำสั่ง ที่ ๑๐๘๔/๒๕๔๙ แต่งตั้ง
             คณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ...........  มีนายแพทย์มานิต    ธีระตันติกานนท์ 
    เป็นประธาน และมีสภาต่าง ๖ สภาร่วมเป็นกรรมการ โดยในส่วนของเครื่อข่ายสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ฯ
    มี รศ. เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ และ รศ. กุหลาบ รัตนสัจธรรม เป็นกรรมการ
    ๓๓. เมือวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๑ ซึ่งผู้แทนสภาต่าง ๆ เสนอขอให้มีการพิจารณา
            ทบทวนเรื่องความหมายของคำจำกัดความของการประกอบวิชาชีพสาธารณสุข
    ๓๔. เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๐  ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๒ เพื่อสรุปทบทวนคำจำกัดความและข้อบังคับ
    ๓๕. เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๐  นายอำพล จินดาวัฒนะ  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะ รวม ๒๘ คน 
    ได้เสนอ (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ..... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา
    ๓๖. ภาคีสภาวิชาชีพประกอบด้วย แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ 
    และสภากายภาพบำบัด ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หนังสือที่ พส ๐๑๔/.... ลงวันที่ ๙
           กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐  ขอเลื่อนการผ่านร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .........
    ๓๗.  เมื่อวันที่ --- กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้คณะรัฐมนตรีรับ(ร่าง)พ.ร.บ. วิชาชีพการ
             สาธารณสุข พ.ศ. ..... ไปพิจารณาก่อนรับหลักการ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ(ร่าง) พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว เพื่อ
             พิจารณาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๔๙
    ๓๘.  เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐  คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการ(ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ......
    ๓๙.  คณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการพิจารณา(ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพฯ
            (คำสั่งที่ ๕/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)
    ๔๐.  เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐  เครือข่ายสถาบันการศึกษาสาธารณสุขฯ ได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกเรื่องการเสนอกฎหมาย  
            เพื่อการสาธารณสุข พ.ศ. ..... ถึงคณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และถึงเลขาธิการคณะกรรมการ
           กฤษฎีกา เพื่อยืนยันการเสนอ(ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ....
    ๔๑. เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เชิญผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคีสภาวิชาชีพ 
    เข้าประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ(ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ... ณ ห้องประชุมสำนักงาน
    คณะกรรมการกฤษฎีกา
    ๔๒. ประธานผู้บริหารเครือข่ายสถาบันฯ ได้เสนอข้อสังเกตการณ์ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ 
    (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.  ...... ต่อรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อประกอบ
    การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ  (หนังสือ ที่ ศธ ๐๕๑๗.๑๔/๕๘๓ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)
    ๔๓. เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐  รองศาสตราจารย์ กุหลาบ รัตนสัจจธรรม ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการสาธารณสุข 
    ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นควรสนับสนุนการเสนอ(ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .....
    ๔๔.  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้จัดทำบันทึกประกอบ(ร่าง)พระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. .....
            (เรื่องเสร็จ ที่ ๑๑๓/๒๕๕๐ มีนาคม ๒๕๕๐)  โดยมีสาระสำคัญ คือ
    – แก้ไขนิยามคำว่า “วิชาชีพการสาธารณสุข”  เป็นวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน”  โดยให้ความหมายของคำนิยามดังกล่าวมีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบกับวิชาชีพในการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ หรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ
    – กำหนดให้เป็นวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนโดยมีจุดประสงค์หลักในการป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน และการประกอบวิชาชีพนี้จะไม่รวมถึงการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น   สำหรับการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องต่าง ๆ ในร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นไปในแนวทางเดียวกับกฎหมายวิชาชีพด้านสาธารณสุขอื่น ๆ เช่น วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ และวิชาชีพกายภาพบำบัด เป็นต้น
    ๔๕. เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๘.๑๗ น. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติได้ลงคะแนนเสียงเห็นด้วย ๓๖ เสียง ไม่เห็นด้วย ๕๙   
              เสียง  งดออกเสียง ๓  จากจำนวนผู้เข้าประชุม ๙๘ คน  ผลการลงมติ ไม่เห็นด้วย (ไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ)
    –  (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ..... ซึ่งนายอำพล จินดาวัฒนะ กับคณะเป็นผู้เสนอ
    –  (ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ..... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ (ในวาระที่ ๑)
    ๔๖. เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๐ ผู้แทนเครือข่ายสถาบันฯ (รศ.ดร. กุหลาบ รัตนสัจจธรรม  รศ.ดร. สุรชาติ  ณ หนองคาย และ
          นางนภาพร  ม่วงสกุล)  ได้ร่วมหารือกับทางผู้แทนสมาคมหมออนามัย(นายนิรุทธ์ อุทธา)  เพื่อหารือในประเด็นที่สภานิติ 
          บัญญัติแห่งชาติไม่เห็นด้วยกับ(ร่าง)พ.ร.บ.ทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว โดยมีประเด็นที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เห็นด้วยคือ
    –    พ.ร.บ.วิชาชีพฯ จำกัดสิทธิของประชาชนขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐
    –   ขัดกับการสาธารณสุขมูลฐาน
    –    วิชาชีพต้องมีความจำเพาะ
    –     คนที่มาประกอบวิชาชีพหลากหลาย
    –     การเสนอกฎหมายเร่งด่วน รีบร้อน
    –     จะเกิดสภาวิชาชีพแล้วไปควบคุมสถาบันการศึกษาในการจัดหลักสูตร
    –    ทำ พ.ร.บ. วิชาชีพฯ เพื่อมีตำแหน่งเข้าร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
    –    การมี พ.ร.บ. นี้มีประโยชน์เฉพาะกลุ่มคนเท่านั้น โดยใช้คำว่า “สาธารณสุขชุมชน” ซึ่งจะเน้นเฉพาะกลุ่มและไปจำกัดสิทธิของผู้อื่นในการประกอบวิชาชีพ
    ๔๗. เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐  ผู้บริหารเครือข่ายสถาบันฯ ได้มีการประชุมร่วมกัน ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์   
            มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อหารือในการกำหนดแนวทางการดำเนินการผลักดัน(ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ..........    
           ต่อไป   ซึ่งที่ประชุมมีมติที่จะดำเนินการ
    –     พัฒนา ปรับปรุง(ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข... การทบทวนชื่อ พ.ร.บ.
    –     พิจารณาทบทวนหลักการและเหตุผลและรายละเอียดเนื้อหา พ.ร.บ. ในแต่ละมาตรา
    –     เชิญเครือข่ายฯ/สมาคม/ชมรม ที่ร่วมจัดทำ(ร่าง) พ.ร.บ. วิชาชีพเดิมมาร่วมประชุมหารือ
    –    วางกลยุทธ์ในการผลักดัน
    ๔๘. เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐  ผู้บริหารเครือข่ายสถาบันฯ และผู้ร่วมจัดทำ(ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ได้
           ร่วมประชุมหารือ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ผลักดัน(ร่าง) พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข.......ต่อ โดย
    – การขับเคลื่อนในเชิงวิชาการโดยใช้ฐานคิดเกี่ยวกับคำว่า “วิชาชีพ” (Professional) มีการทบทวนหลักการ เหตุผล คำนิยามของวิชาชีพ การทบทวนเรื่องชื่อ พ.ร.บ.
    – การขับเคลื่อนในเรื่องกระบวนการ
    • การทำความเข้าใจ/สร้างพันธมิตรกับสภาวิชาชีพต่าง ๆ ด้วยเหตุและผล
    • การชี้แจงให้คณะกรรมการ สนช. ที่ไม่เห็นด้วยให้เข้าใจ
    • การเมือง
    • การชี้แจงต่อสาธารณะ/การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล
     
     ที่มา กระบวนการตรากฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขในประเทศไทยนำเสนอในที่ประชุมสาธารณสุขแห่งชาติ ๒๕๕๑
          รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย  ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข
         คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ความคิดเห็น