วิจัยบทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข

ชื่อวิจัย  บทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข


ผู้วิจัย วินัย ลีสมิทธิ์

แหล่งทุน  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

ปีที่พิมพ์oct-2553

บทคัดย่อ

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 กระทรวงสาธารณสุขได้ถ่ายโอนสถานีอนามัยจำนวน 28แห่งแก่อปท.จำนวน 28 แห่ง มีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลว อปท.ส่วนใหญ่ยอมรับว่าขาดศักยภาพทั้งด้านการจัดการและการเงิน เป็นเรื่องจำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขต้องหาทางเลือกอื่นๆสำหรับกระจายอำนาจ ด้านสาธารณสุขตามที่กฎหมายกำหนด เหล่านี้เป็นเหตุผลของการศึกษาวิจัยนี้ การศึกษากำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 ประการ คือ

1)หาทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อการบริหารจัดการหน่วยบริการกระทรวงสาธารณสุข หลังกระจายอำนาจ
2)วิเคราะห์บทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขสำหรับเชื่อมโยงกับอปท.เพื่อ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่
3)วิเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขหลัง กระจายอำนาจ และ
4)วิเคราะห์การอภิบาลระบบโดยรวมหลังกระจายอำนาจเพื่à! ��ให ้เกิดบริการที่ดีกว่าเดิม

วิธีการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ กับการประชุมระดมความคิดของตัวแทนที่มาจากกระทรวงสาธารณสุข สปสช. อปท. องค์กรอิสระ นักวิชาการและชุมชน ข้อมูลที่ได้ถูกนำไปวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสังเคราะห์ประเด็นสำคัญนำเสนอ เชิงพรรณาประกอบตารางและภาพที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่ามีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอยู่ 6 ประการ คือ
1)การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขในบริบทประเทศไทยเป็นกลวิธีไม่ใช่เป้าหมาย มีความหมายมากกว่าเพียงการถ่ายโอนหน่วยบริการแก่อปท.มุ่งเน้นผลประโยชน์ที่ ประชาชนได้รับที่ดีขึ้น
2)เขตสุขภาพภายใต้คณะกรรมการบอร์ดอิสระและดูแลสนับสนุนโดยกระทรวงสาธารณสุข น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับบริหารจัดการหน่วยบริการกระทรวงสาธารณสุขที่เหมาะสม เพราะระบบสุขภาพเชื่อมโ! ยง�¹ �ม่แยกส่วนโดยเฉพาะระบบส่งต่อ มีความประหยัดต่อขนาด มีความยืดหยุ่นให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามีส่วนร่วมทั้งการจัดการและบริการ พัฒนาธรรมาภิบาลได้ดี ไม่มีปัญหาการขัดแย้งเชิงความคิดนโยบายและการดำเนินงาน แต่ขาดกฎหมายและระเบียบรองรับและต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เข้ามาเป็นกรรมการบอร์ดซึ่งขาดแคลนในพื้นที่
3)บทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขที่เชื่อมโยงกับอปท.เพื่อส่งเสริม สุขภาพและป้องกันโรคควรเน้นด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต การดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การป้องกันโรคที่พบบ่อยในพื้นที่ และด้านบริการสังคมที่เป็นตัวชี้วัดสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขต้องมีบทบาทควบคุมโรคที่เกิดระบาดรุนแรงและต้องการวิชาการ ที่ก้าวหน้า
4)บทบาทหลังการกระจายอำนาจของกระทรวงสาธารณสุขจะเปลี่ยนแปลงไปมาก กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาท�¸ �ำคัญสำหรับกำหนดนโยบาย การกำกับด้วยกฎหมายและประสานงานระดับชาติ ส่วนหน่วยงานระดับต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยการวางแผน ติดตามประเมินผล จัดสรรทรัพยากร สนับสนุนวิชาการ และประสานงานกับหน่วยต่างๆ
5)การอภิบาลระบบโดยรวมต้องประกอบด้วยโครงสร้างบริหารราชการเดิม นำกลไกตลาดมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างเครือข่ายอภิบาลที่พัฒนาธรรมาภิบาลที่ดี และสุดท้าย
6)ข้อควรระวังในการกระจายอำนาจที่กระทบการทำงานขวัญและกำลังใจของ เจ้าหน้าที่และความไม่พร้อมของอปท.
การศึกษาได้เสนอแนะว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในความหมายของการกระจายอำนาจแก่ ประชาชน เขตสุขภาพน่าจะได้รับการศึกษาวิจัยพัฒนาเชิงลึกและนำไปสู่นโยบายที่ชัดเจน สมควรกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการบอร์ดระดับชาติขึ้นกำ�¸! �ับà ��ูแล วางแผน และพัฒนาอย่างจริงจังต่อเนื่อง ควรทบทวนกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องและปรับปรุงหรือเพิ่มเติมให้เกิดการ กระจายอำนาจที่คล่องตัวโดยเฉพาะการจัดตั้งเขตสุขภาพและการกำหนดบทบาทหน้าที่ หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขหลังกระจายอำนาจ และสุดท้ายการศึกษาวิจัยระบบสุขภาพของเขตสุขภาพควรหาความสัมพันธ์เชิง โครงสร้าง อำนาจ การจัดการ และบริการให้เห็นภาพได้ชัดเจน

จับประเด็นสำคัญบนกระแสการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบกระจายอำนาจด้านสุขภาพ 02-12-2010

ติดตามรายละเอียดทาง:


ห้องสมุดสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข


ตึกกรมสุขภาพจิต อาคาร 3 ชั้น 5 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์


อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 0-2951-1286 ถึง 94 ต่อ 132


Contact : library @hsri.or.t

ความคิดเห็น