Thailand’s Health Workforce (บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข)

A Thailand’s Health Workforce: A Review of Challenges and Experiencesnces เป็นบทความที่ได้รับการสนับสนุนจาก World Bank ปี 2009)


อย่างน้อยที่สุดถ้าใครได้อ่านบทความนี้ก็จะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทีมีความสำคัญ แม้ว่าหลายคนจะมองข้ามก็ตาม บทความนี้ช่วยสนับสนุนว่าเรื่องของสุขภาพอนามัยเป็นเรื่องสำคัญ และบุคคลที่มีบทบาทในเรื่องนี้ก็คงหนีไม่พ้นบุลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข World Bank จึงได้สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อนำไปการกำหนดนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เนื้อหาหลักอยู่ที่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และการทบทวนประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านสาธารณุสุขของประเทศไทยที่ผ่านมา

ระบบสุขภาพของประเทศไทยมีการขับเคลื่อนเป็น Dynamic มีเอกลักษณ์ มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นโยบายสุขภาพของประเทศมีผลกระทบอย่างมากต่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งด้านปริมาณและศักยภาพ และได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขกับนโยบาย โดยสรุปบทความนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่1กล่าวถึงระบบสุขภาพของประทศไทยกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

บริบทของระบบสุขภาพ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ บริบทด้านสิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

บริบทของระบบสุขภาพ ได้แก่ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และงบประมาณการเงินด้านสุขภาพ ประชากรศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยา การปฏิรูปสาธารณะและนโยบายสุขภาพ

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ การดำรงอยู่ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

ส่วนที่ 2 กล่าวถึงความท้าทายด้านบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขและการทบทวนประสบการณ์ด้านนโยบายสุขภาพ ได้แก่

-การกระจายอย่างไม่เป็นธรรม ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ ยุทศาสตร์ทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ภาคบังคับ(การให้ทุนศึกษาและมีพันธะสัญญา) ยุทธศาสตร์ด้านแรงจูงใจและการบริหารจัดการ( แรงจูงใจด้านการเงินและไม่ใช่เงิน ได้แก่ ความก้าวหน้าทางอาชีพ การศึกษาต่อ)

- วิวัฒนาการและผลกระทบของยุทศาสตร์เพื่อแก้ไขการกระจายของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างไม่เป็นธรรม ได้แก่ แผนสุขภาพสุขภาพแห่งชาติฉบับที่1 – 9

-บทบาทของภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ : ความเสี่ยงและโอกาส ได้แก่ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ วิกฤติทางเศรษฐกิจ และการแลกเปลี่ยนทางการแพทย์

- ความต้องการในอนาคต

-การบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในบริบทของการกระจายอำนาจ

ส่วนที่3 บทเรียนสำคัญและความท้าทายในอนาคต

ซึ่งบทความนี้ถ้าศึกษาทั้งหมดแล้วก็จะเข้าใจความเป็นมาของการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขได้ดีพอสมควร แต่ที่ผู้อ่านสนใจเป็นพิเศษก็คงเป็นส่วนที่กล่าวถึงความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

ในส่วนบทนำนั้นกล่าวว่าบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขนั้นไม่สามารถแยกออกจากระบบสุขภาพได้ ระบบสุขภาพกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นdynamic ที่มีเอกลักษณ์ไปตามบริบทของประเทศและโลก ประเด็นสำคัญเน้นไปที่บุคลากร 3 กลุ่ม ได้แก่ แพทย์ พยาบาลและ ผู้ปฏิบัติงานดุแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ในที่นี้เขาใช้คำว่า Primary care worker (PCWs) ซึ่งเมื่ออ่านบทความนี้โดยรวมจะเข้าใจได้ว่าหมายถึงเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยนั่นเอง บุคลากร 3 กลุ่มนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสุขภาพในเขตชนบท โดยแพทย์จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญด้านการรักษา พยาบาลทำหน้าที่ให้การดูแลในระดับกลางซึ่งช่วยลดช่องว่างของการขาดแคลนแพทย์และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล ส่วน Primary care workers จะเป็นผู้ที่สวมบทบาทในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ

ในส่วนที่ 1 THE THAI HEALTH SYSTEM AND HEALTH WORKFORCE ได้กล่าวถึงบริบทสุขภาพของประเทศไทย ว่าเป็นประเทศที่มีรายได้ในระดับกลางมีประชากรประมาณ 65.1 ล้านคน(2007) ประมาณ 65.7 % อาศัยอยู่ในเขตชนบท แบ่งเป็น 7 6จังหวัด 877 อำเภอ และ 7255 ตำบล ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของรัฐบาลซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ สถานีอนามัยมีหน้าที่ให้การดูแลในระดับตำบล โรงพยาบาลระดับอำเภอ และโรงพยาบาลจังหวัด โดยในเขตชนบทซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะใช้บริการที่โรงพยาบาลระดับอำเภอและสถานีอนามัย สถานีอนามัยเป็นหน่วยบริการสุขภาพด่านแรกที่ให้บริการประชาชนบุคลากรประกอบด้วย พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยเฉลี่ยในโรงพยาบาลระดับอำเภอแพทย์จะดูแลประชากรประมาณ 5,000 คน ส่วนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆจะดูแลประชากรประมาณ 50,000 คน โรงพยาบาลระดับอำเภอจะบริการสุขภาพโดยประสานงานกับสถานีอนามัยและโรงพยาบาลจังหวัดเพื่อประสิทธิภาพของระบบบริการและการส่งต่อ ใน30 ปีที่ผ่านมาความครอบคลุมของการให้บริการสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าพอใจและซึ่งเป็นภาระหนักของรัฐบาล ปัจจุบันมีโรงพยาบาล 725 แห่ง หรือ 82.6 % ของอำเภอทั้งหมด โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลจังหวัด มี 95 แห่งครอบคลุมทุกจังหวัดในประเทศไทย ส่วนสถานีอนามัยมี จำนวน9,765 แห่งซึ่งครอบคลุมทุกตำบล(2005) นอกจากนี้ยังมีสถานบริการเอกชนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในเขตเมืองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ใน ปี2007 มีคลินิกเอกชนจำนวน 16,800 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 429 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงบริบทด้านสิ่งแวดล้อมว่าการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของประเทศมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบบริการสุขภาพและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การระบาดวิทยาและการเปลี่ยนแปลงของประชากรศาสตร์ สังคมและการปฏิรูปสาธารณะและนโยบายสุขภาพ การปฏิรูปสาธารณะและนโยบายสุขภาพ มีผลกระทบอย่างมากต่อระบบบริการสุขภาพและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การปฏิรูประบบสุขภาพ มีเป้าหมายหลัก 3ประการ ได้แก่ เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชากร การปรับโครงสร้างงบประมาณด้านสุขภาพ และการปรับปรุงคุณภาพของระบบการดูแลสุขภาพ นับแต่เริ่มมีการปฏิรูประบบสุขภาพ หน่วยบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานหรือสถานีอนามัยเป็นสถานบริการที่สำคัญด่านแรกของประชาชน และทำให้มีความครอบคลุมประชากรได้ 77. 8%

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขประกอบด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ได้แก่ แพทย์ แพทย์พื้นบ้าน แพทย์ทางเลือก อาสาสมัครสาธารณสุข และเครือข่ายสุขภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในหน่วยงานของรัฐ เอกชนและชุมชน แต่ในบทความนี้เน้นไปที่บุคลากร 3 กลุ่มหลัก ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของประชาชนในเขตชนบท ได้แก่ แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย( Primary care worker : PCWs) แพทย์เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการรักษา พยาบาลเป็นผู้ที่ให้การดูแลในระดับกลางช่วยลดช่องว่างและปัญหาการขาดแคลนแพทย์และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ส่วนหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยนั้น ในบทความนี้เขียนไว้ได้ชัดเจนว่า Primary care workers play active roles in relation to preventive care and promotion of care for individuals and communities ก็คือเหมือนที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพในระดับบุคคลและครอบครัว โดยบุคลากร 3 กลุ่มนี้จะทำงานร่วมกันเป็นทีม เนื่องจากความเพียงพอของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความสำคัญต่อความเพียงพอของการให้บริการสุขภาพ แต่ยังมีการขาดแคลนบุคลากรด้านนี้จึงนำไปสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงบริการสุขภาพทำให้มีคุณภาพชีวิตต่ำ การดูแลไม่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบท

ในด้านการดำรงอยู่ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในปี2006 จากรายงานของสภาการแพทย์แห่งประเทศไทย มีแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 33,166 ราย พยาบาล จำนวน 130,000 ราย และ PCWs (เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย จำนวน 30,441 ราย โดยแพทย์เพียง 16.5 % ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอำเภอในเขตชนบท ซึ่งสัดส่วนต่ำกว่าแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน (21.6% ) แพทย์เป็นผู้ที่ทำงานด้านอื่นได้อีกนอกจากให้บริการรักษาแล้ว เช่น เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร นักวิจัยและบางคนทำงานที่ไม่เกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนพยาบาลที่ปฏิบัติงานในชนบทมีสัดส่วนที่สูงกว่าแพทย์ (28% ) และมีเพียง 12.2 % ที่ปฏิบัติงานในสถานบริการเอกชน ประมาณ 30% ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจังหวัด ทำนองเดียวกับแพทย์ พยาบาลที่ไม่ได้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสุขภาพมีประมาณ 30% ดังนั้น PCWs จึงมีบทบาทสำคัญแถวหน้าต่อการบริการสุขภาพที่สถานีอนามัย(57.2% ) หมายความว่าสัดส่วนของ PCWs ที่ปฏิบัติงานในชนบทสูงถึง 77.6 % มีเพียง 22.5% ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (2008)

ในประเทศไทย สัดส่วนของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อประชากร 3 : 1,000 สัดส่วนของแพทย์ต่อประชากร 1000 คน ในประเทศไทยสูงกว่าประเทศแอฟริกาเพียงเล็กน้อย และต่ำกว่าประเทศในเขตเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตกเล็กน้อย

ในทวีปยุโรปสัดส่วนของแพทย์ต่อประชากร 1000 สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ สัดส่วนของพยาบาลต่อประชากรในประเทศไทย สูงกว่าแอฟริกา เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตามทวีปยุโรปและแปซิฟิกตะวันตกมีสัดส่วนของพยาบาลต่อประชากรสูงกว่าประเทศไทย(2004)

สัดส่วนของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยต่อประชาชนยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดเนื่องจากนิยามของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยมีความหลากหลายในแต่ละประเทศ ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพในระดับท้องถิ่น ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานระดับท้องถิ่นเป็นเวลา 2 ปี และปฏิบัติงานในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเอง หน้าที่หลัก ได้แก่ การป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ยังให้บริการการรักษาพยาบาลเบื้องต้นอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยมีบทบาทสำคัญมากในประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วและช่วยทดแทนการขาดแคลนแพทย์และพยาบาล สัดส่วนของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยต่อประชากร 1000 คน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงกว่าเขตอื่นๆในโลก ในประเทศไทยสัดส่วนของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยต่อประชากร สูงกว่าแพทย์แต่น้อยกว่าพยาบาล

นอกจากนี้ในบทความยังได้กล่าวถึงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย โดยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจะได้รับการฝึกปฏิบัติที่วิทยาลัยการสาธารณสุขเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจะได้รับการฝึกปฏิบัติเน้นที่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อทดแทนการขาดแคลนแพทย์และพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานีอนามัยเขตชนบท เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจะได้รับการคัดเลือกมาจากท้องถิ่น ฝึกงานในหน่วยงานระดับท้องถิ่นและกลับมาปฏิบัติงานในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเองหลังจากจบการศึกษา ใน10ปีที่ผ่านมาของการพัฒนาสถานีอนามัย(1992-2001) ในแต่ละปีจะมีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจบการศึกษาประมาณ 1600 คน หลังจากนั้นลดลงเหลือ 1500 คน หลังจากจบการศึกษาพวกเขาจะกลับมาบ้านเกิดของตนเอง และประมาณ 60 – 80 % ยังคงปฏิบัติงานในเชตชนบท

โดยสรุปแล้วเราเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยหรือ Primary care worker เป็นเหมือนตัวสำรองของแพทย์และพยาล แต่ถ้ายอมรับอย่างเป็นกลางจะพบว่าเป็นตัวสำรองที่สำคัญกว่าตัวจริง เป็นพระเอก นางเอกที่ใกล้ชิดกับประชาชนในเขตชนบทอย่างแท้จริง

ขอบคุณ....

ความคิดเห็น