การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของประเทศไทย

การพัฒนาสถานีอนามัยในทศวรรษหน้า
โดย พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
Wednesday, 15 October 2008

ระบบบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit) เป็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้าน เข้าถึง เข้าใจ รู้ใจ เป็นของชุมชน เพื่อชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วม และมีความเป็นมนุษย์สูง

โรงพยาบาลจะมีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์สูง (High Technology) แต่จะมีความเป็นมนุษย์ต่ำ (Low Human Touch) กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขพื้นฐาน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและดำเนินงานด้วยความประหยัดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

สถานการณ์ระบบบริการปฐมภูมิ
- สถานีอนามัยในกระทรวงสาธารณสุข ดูแลประชากร ๙๒ %
- มีบุคลากรเฉลี่ย ๒.๙ คน
- ประมาณ ครึ่งหนึ่ง มีบุคลากรน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
- PCU ที่มีบุคลากร เพิ่มขึ้น ๔๖%
- PCU ที่มีบุคลากร เท่าเดิม ๔๑%
- มีรายรับ และเงินบำรุงเพิ่มขึ้น ๓๙%
- รายรับ และงบลดลง ๓๗%

สถานการณ์สภาวะสุขภาพคนไทย ปี ๒๕๔๙
- สาเหตุการตายต่อประชากรแสนคน คือ มะเร็งทุกชนิด ๘๓.๑ เอดส์ ๗๘.๙ อุบัติเหตุทุกชนิด ๕๙.๘ และโรคหัวใจ ๒๘.๔ ตามลำดับ
- ความชุกโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มจาก ๕.๔% เป็น ๑๑.๐%ในปี๒๕๓๔และ ๒๕๓๙ ตามลำดับ
- ความชุกโรคเบาหวาน เพิ่มจาก ๒.๓% เป็น ๔.๖% ในปี ๒๕๓๔ และ ๒๕๓๙ ตามลำดับ

แผนงานที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการปฐมภูมิ
- แผนสุขภาพฯ ฉบับที่ ๑๐: พัฒนาบริการปฐมภูมิ สุขภาพพอเพียง
- แผนบริหารราชการ ๔ ปี : ระบบหลักประกัน การส่งเสริม ป้องกัน
- แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาบริการปฐมภูมิระยะ ๕ ปี
- การกระจายอำนาจ การถ่ายโอนสถานีอนามัย
- การร่วมมือกับท้องถิ่น และชุมชน
- แผน Mega Project : พัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ ศสช.ขนาดใหญ่ / ศูนย์แพทย์ชุมชน /
โรงพยาบาล ผลิตพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทันตาภิบาล
- โครงการลดความแออัดโรงพยาบาลใหญ่ พัฒนาเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค
ตามนโยบาย และตอบสนองปัญหาพื้นที่

ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาสถานีอนามัย
๑. เร่งสร้างให้เห็นถึงคุณค่า เอกลักษณ์ และการยอมรับต่อระบบบริการปฐมภูมิ ที่บริการด้วย หัวใจความเป็นมนุษย์ บูรณาการศาสตร์และศิลป์เพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นศูนย์สุขภาพของชุมชน ที่ดำเนินการร่วมกับชุมชน เพื่อสุขภาพของชุมชน
๒. ยกระดับคุณภาพบริการของสถานีอนามัย/หน่วยบริการปฐมภูมิ ให้สามารถตอบสนองกับปัญหาสุขภาพใหม่ ได้แก่ โรคไม่ติดต่อ โรคอุบัติใหม่ อุบัติเหตุ อุบัติภัย ผู้สูงอายุ เป็นต้น
๓. ปรับวิธีจัดบริการให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน เช่น เขตเมือง ชนบท อุตสาหกรรม เขตทุรกันดารเสี่ยงภัย เป็นต้น เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแนวใหม่ ที่ดำเนินการแบบพหุภาคี และใช้ข้อมูลเป็นฐานการตัดสินใจ
๔. เพิ่มหน่วยบริการในจุดที่เป็นช่องว่าง ประชาชนเข้าไม่ถึง
๕. เสริมบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ตั้งในจุดที่เป็นชุมทางหรือมีประชากรจำนวนมาก และพัฒนาให้เป็นแม่ข่าย เชื่อมต่อกับหน่วยบริการใกล้เคียงเป็นเครือข่าย
๖. เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการเชื่อมต่อบริการ ระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิกับโรงพยาบาล

ทางเลือกของการจัดเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
๑. ในชนบท เน้นที่การพัฒนาให้เป็นเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ที่มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เน้นเป็นหน่วยเดี่ยวๆ
๒. ในเขตเมือง ให้มีการจัดการเป็นเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ที่แยกการบริหารออกจาก รพศ/รพท. หรือ จัดให้มี autonomy หรือมีแนวทางการจัดการด้วยตนเองมากขึ้น และให้มีการจัดการร่วมมือกับเอกชน ท้องถิ่นร่วมด้วย
๓. ในเขตทุรกันดาร ต้องเน้นการเสริมศักยภาพ ศสมช./ อสม. ร่วมกับหน่วยบริการเคลื่อนที่
ในเขตอุตสาหกรรม ต้องพัฒนาให้มีศักยภาพการจัดการ และงานทางด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย มากขึ้น
๔. ผู้ให้บริการในระยะ ๕ ปีแรก เน้นที่พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยมีแพทย์เป็นที่ปรึกษา และร่วมดูแล ทำงานร่วมกันเป็นทีม

แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิระยะ ๕ ปี
(พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๖)
คณะกรรมการอำนวยการยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาบริการปฐมภูมิ

วิสัยทัศน์
ระบบบริการปฐมภูมิเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่ครอบคลุม มีคุณภาพมาตรฐาน สอดคล้องกับสภาพพื้นที่อย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของประชาชนและสังคม
พันธกิจ
เครือข่ายบริการปฐมภูมิ ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพและเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนอย่างครอบคลุม และมีคุณภาพมาตรฐาน ที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่อย่างเหมาะสม

การบริหารแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
(๑) คณะกรรมการอำนวยการยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
ประกอบด้วย รมว.กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน , ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นรองประธาน และ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นเลขานุการ

(๒) คณะกรรมการดำเนินงานยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน, หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ร่วมกับ รองเลขาธิการ สปสช. เป็นรองประธาน , สบพป. กสธ. ร่วมกับ สบส. สปสช. เป็นเลขานุการ
(๓) คณะอนุกรรมการโครงสร้างและศักยภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ
ประกอบด้วย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ เป็นประธาน , นพ.เกษม เวชสุทธานนท์ และ นพ.นิวัฒน์ จี้กังกวาล เป็นเลขานุการ
(๔) คณะอนุกรรมการประสานและพัฒนาแผนกำลังคน การวิจัยและจัดการความรู้ ประกอบด้วย นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา เป็นประธาน , ทพ. ทิพาพร สุโฆษิต , นพ.จักรกริช โง้วศิริ เป็นเลขานุการ

ประเด็นที่เปลี่ยนแปลง
(๑) เป็นแผนยุทธศาสตร์ของการร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ มิได้ครอบคลุมเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข และมีกลไกกลางที่เป็นสำนักงานเลขาฯ ที่กำกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
(๒) มีข้อเสนอให้วางแผนการร่วมมือกับ อปท. และเอกชน อย่างเป็นระบบและมีแผนล่วงหน้า ไม่จำกัดรูปแบบเฉพาะการถ่ายโอนสถานีอนามัย
(๓) รูปแบบการจัดบริการ เปิดโอกาสให้มีการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่
(๔) การบริหารจัดการ ให้มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามสภาพพื้นที่ได้ และให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาได้มากขึ้น
(๕) กระบวนการพัฒนา เน้นที่การสร้าง node ,networking และ sharing

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : เพิ่มศักยภาพและขยายบริการปฐมภูมิให้เข้าถึงชุมชน โดยระดมความร่วมมือทุกภาคส่วนอย่างสอดคล้องกับบริบท
๑.๑ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และขีดความสามารถหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และตอบสนองความต้องการของประชาชน
๑.๒ ขยายบริการปฐมภูมิโดย ร่วมมือกับท้องถิ่น ชุมชนและเอกชน
๑.๓ ขยายและพัฒนาการจัดบริการปฐมภูมิรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่เขตหนาแน่น เขตที่เป็นช่องว่างในระบบ GIS และเขตทุรกันดาร เขตห่างไกล
๑.๔ ลดความแออัด รพ.ใหญ่ และเสริมการเชื่อมต่อระหว่าง รพ. กับ หน่วยบริการปฐมภูมิ

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : ปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๑ ให้มีกลไกประสาน และบริหารนโยบายระดับประเทศ ปรับโครงสร้างและกลไกการจัดการทุกระดับให้รองรับ
๒.๒ การพัฒนาบริการปฐมภูมิ และส่งเสริมการแบ่งอำนาจให้ราชการส่วนภูมิภาค โดยส่วนกลางกำกับดูแลเชิงนโยบาย
๒.๓ ปรับปรุงการบริหารจัดการระบบงบประมาณ
๒.๔ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิให้สอดคล้องกับพื้นที่
๒.๕ สนับสนุนการประสานเครือข่ายในพื้นที่ และระหว่างพื้นที่เพื่อช่วยเหลือ และสนับสนุนการพัฒนาระหว่างกัน
๒.๖ พัฒนาการบริหารจัดการการส่งต่อให้ดูแลต่อเนื่อง และการประสานบริการ
๒.๗ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
๒.๘ พัฒนาระบบการ ติดตามและประเมินผล

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : ปรับปรุงระบบการผลิต พัฒนา และระบบบริหารจัดการบุคลากรบริการปฐมภูมิที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับระบบบริการปฐมภูมิ และบริบทพื้นที่
๓.๑ เร่งพัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากร เพื่อการกระจายที่เหมาะสมและเป็นธรรม เสริมสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากร
๓.๒ สนับสนุน อปท.และชุมชนมีส่วนร่วมวางแผนและบริหารจัดการกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่
๓.๓ สนับสนุนและพัฒนา การผลิตบุคลากรบริการปฐมภูมิให้เพียงพอ
๓.๔ สร้างเสริมขีดความสามารถของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : สร้างคุณค่า และการยอมรับต่อระบบบริการปฐมภูมิ
๔.๑ สร้างกระบวนการเคลื่อนไหว เพื่อสร้างอุดมการณ์การบริการปฐมภูมิ
๔.๒ สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรสาธารณสุขเข้าใจคุณค่า ศักดิ์ศรี และเอกลักษณ์
๔.๓ สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ยอมรับบทบาท คุณค่า ศักดิ์ศรี และเอกลักษณ์
๔.๔ สร้างเครือข่ายนักรณรงค์เสริมสร้างคุณค่าบริการปฐมภูมิ และผลักดันเข้าสู่ความสนใจของสาธารณะ และนโยบาย

ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
๕.๑ สนับสนุน ประสานเครือข่าย สถาบันวิชาการในการสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์
๕.๒ ส่งเสริมศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน และเครือข่ายหน่วยบริการในการจัดการความรู้ที่เป็นลักษณะเฉพาะของบริการปฐมภูมิ
๕.๓ พัฒนารูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ
๕.๔ ผสมผสานองค์ความรู้สุขภาพสาขาต่างๆ ในการจัดบริการปฐมภูมิ

ความคิดเห็น